วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

ข้อเเตกต่างระหว่างภาษาบาลีและสันสฤต

ข้อเเตกต่างระหว่างภาษาบาลีเเละสันสฤต
บาลี
 

๑.  สระบาลี  มี  ๘  ตัว  คือ  อะ  อา  อิ  อี  อุ  อู  เอ  โอ

๒.  พยัญชนะ  บาลี มี  ๓๒  ตัว

๓.  บาลีนิยม  ฬ  เช่น  จุฬา  กีฬา  อาสาฬห  วิฬาร์ 

๔.  ไม่นิยมคำควบกล้ำและอักษรนำ  เช่น  ปฐม  มัจฉา

     วิชชา  สามี

๕.  มีหลักเกณฑ์การใช้ตัวสะกดตัวตามแน่นอน

๖. ใช้ริ  กลางคำ  เช่น  อริยะ  จริยา  อัจฉริยะ

๗.  บาลีใช้  อะ  อิ  อุ  เช่น  อมตะ  ติณ  ปุจฉา  อุตุ

๘.  บาลีใช้  ส  ทั้งหมด  เช่น  สงฆ์  สามัญ  ปัสสาวะ

     อัสสุ  มัสสุ  สิกขา  สัจจะ

แตกต่างจากภาษาสันสกฤต  เพราะสันสกฤต  มี

๑.  สระสันสกฤตมี  ๑๔  ตัว  เพิ่ม  ไอ  เอา  ฤ  ฤา  ฦ  ฦา

๒. พยัญชนะสันสกฤตมี  ๓๔  ตัว  เพิ่ม  ศ  ษ

๓.  สันสกฤตใช้  ฑ  ฒ  เช่น  จุฑา  กรีฑา  

๔.  นิยมควบกล้ำ  และอักษรนำ  เช่น  ประถม   มัตสยา

     วิทยา  สวามี

๕.  มีหลักตัวสะกดตัวตามไม่แน่นอน

๖.  ใช้  ร  กลางคำ  เช่น  อาจารย  จรรยา  อารยะ  

๗.  สันสกฤต  ใช้  ฤ  เช่น  อมฤต  ตฤณ  ปฤจฉา  ฤดู

๘.  ใช้  ส    จะมีพยัญชนะวรรค  ต  (ต  ถ ท ธ น)  เป็น

      ตัวตาม  เช่น  สตรี  สถานี  พัสดุ  สถิติ  พิสดาร


อ้างอิง : www.kr.ac.th/ebook/songsri/b6.htm

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับภาษาบาลีสันสฤต



เรื่องน่ารู้ 
1. ถ้าพยัญชนะ "ส" นำหน้า วรรค ตะ   คำนั้นจะมาจากภาษาสันสกฤต  เช่น  สถาพร  สถาน  สถิต  เป็นต้น 
2. พยัญชนะเศษวรรคในภาษาบาลีที่ใช้เป็นตัวสะกดได้  มี  5  ตัว  คือ  ย  ล  ว  ส  ฬ  เช่น  อัยยิกา  คุยห  มัลลิกา  กัลยาณ  ชิวหา  อาสาฬห  ภัสตา  มัสสุ  เป็นต้น 
3. พยัญชนะเศษวรรคในภาษาสันสกฤตคล้ายภาษาบาลี  แต่มีตัวสะกดเพิ่ม  อีก 2 ตัว  คือ  ศ ษ เช่น  ราษฎร  ทฤษฎี  พฤศจิกายน  เป็นต้น 
ข้อควรจำ  ถ้าคำใดมีตัวอักษรซ้ำกัน  เป็นคำภาษาบาลีแน่นอน  เช่น  ปัญญา อัคคี นิพพาน เมตตา บัลลังก์ ฯลฯ 



ที่มาจาก  http://www.youtube.com/watch?v=Cb2oW7KHf_g

สอนภาษาบาลีสันสฤต


ไวยากรณ์ภาษาบาลี

               ในเอกสารนี้ใช้คำสองคำคือภาษามคธและภาษาบาลี แต่ต่อจากนี้ไปขอใช้คำว่าภาษาบาลีเพื่อจะได้ตรงกับรายวิชา  ไวยากรณ์ภาษาบาลีมีกฏเกณฑ์ที่แน่นอน ผู้เริ่มต้นศึกษาต้องรู้จักกับพยัญชนะและสระของภาษาบาลีก่อนจากนั้นจึงค่อยๆถ่ายเสียงภาษาบาลีด้วยอักษรโรมัน บาลีไวยากรณ์นั้นเขียนเป็นภาษาบาลีว่า “ปาลีเวยฺยากรณํ”  แปลว่าปกรณ์เป็นเครื่องทำให้แจ้งซึ่งบาลีมีบทวิเคราะห์ว่า ปาลึ วฺยากรโรติ เตนาติ ปาลิกรณํ แปลตามบทวิเคราะห์ว่า อาจารย์ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งบาลีด้วยปกรณ์นั้น เพราะเหตุนั้น ปกรณ์นั้นชื่อว่า ปาลิเวยฺยากรณํ   นักศึกษาภาษาบาลีในประเทศไทยได้นำคำว่า “บาลี” มาใช้ในความหมายว่า “ภาษาที่รักษาพุทธพจน์”  แต่คำว่า “บาลี” ไม่ใช่ภาษาแต่หมายถึงตำราหลักหรือคัมภีร์ชั้นต้นของพระพุทธศาสนาที่บันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้าไว้  ดังนั้นก่อนที่จะศึกษาวิชาบาลีเพื่อการศึกษาค้นคว้าพระพุทธศาสนา จึงจำเป็นต้องรู้จักไวยากรณ์ภาษาบาลีโดยสังเขป
บาลีไวยากรณ์ 4 ภาค

               บาลีไวยากรณ์แบ่งออกเป็น 4 ภาคคือ อักขรวิธี  วจีวิภาค  วากยสัมพันธ์  และฉันทลักษณะ(สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส,บาลีไวยากรณ์(สมัญญาภิธาน), พิมพ์ครั้งที่ 36,(กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย,2536), หน้า 5.

               1. อักขรวิธี ว่าด้วยอักษร จัดเป็น 2 คือ(1)สมัญญาภิธานแสดงชื่ออักษร ที่เป็นสระ และพยัญชนะ พร้อมทั้งฐานกรณ์  (2)สนธิ ต่ออักษรที่อยู่ในคำอื่น ให้เนื่องเป็นอันเดียวกัน
               2. วจีวิภาค แบ่งคำพูดออกเป็น 6 ส่วน คือ นาม  อัพยยศัพท์  สมาส  ตัทธิต  อาขยาต  กิตต์
                3. วากยสัมพันธ์ ว่าด้วยการก และประพันธ์ผูกคำพูดที่แบ่งไว้ในวจีวิภาค ให้เข้าเป็นประโยคอันเดียวกัน
               4. ฉันทลักษณะ แสดงวิธีแต่งฉันท์ คือคาถาที่เป็นวรรณพฤทธิ์และมาตราพฤทธิ์  
               ในชั้นนี้จะศึกษาเพียง 2 ภาคเท่านั้นคืออักขรวิธี  วจีวิภาค  ส่วนวากยสัมพันธ์  และฉันทลักษณะจะได้ศึกษาในชั้นสูงต่อไปอักษรภาษาบาลี(อักขรวิธี) 
               อักษรภาษาบาลีนั้นเป็นอย่างไร ไม่มีใครรู้ เพราะได้สาบสูญไปนานมากแล้ว ในภายหลังเมื่อชนชาติใดจะนำภาษาบาลีไปใช้ ก็เพียงแต่นำเสียงหรือคำพูดไปใช้เท่านั้น วิธีการเขียนหรือสะกดก็จะเป็นเรื่องของชนชาตินั้นนำอักษรของตนไปใช้เอง ในที่นี้ขอแสดงการเขียนคำในภาษาบาลีด้วยอักษรภาษาไทยและอักษรภาษาอังกฤษ (โรมัน)

ความหมายของอักษร 

คำว่า "อักษร" มีความหมาย 2 อย่าง คือ 

1. มีความหมายว่า สภาพที่ไม่เสื่อมสิ้นไป ใช้เป็นชื่อเรียก พระนิพพาน
           มีวิเคราะห์ว่า ขรนฺติ วินสฺสนฺตีติ ขรา, สงฺขตา เต ยตฺถ น สนฺติ, ตํ อกฺขรํ, ขรสงขาตานํ วา สงฺขตานํ ปฏิปกฺขตฺตา อกฺขรํ         ธรรมที่ชื่อว่า ขระ เพราะ อรรถว่า ย่อมสิ้นไป เสื่อมไป,ได้แก่ สังขตธรรม, สังขตะธรรม เหล่านั้น ไม่มีในที่ใด ที่นั้น ชื่อว่าอักขระ อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า อักขระ เพราะเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับสังขตธรรม
  ในคัมภีร์อภิธานวรรณนา แปลว่า นิพพานเป็นธรรมที่ไม่มีความเสื่อมเหล่านั้น จึงชื่อว่า อักขระ, นิพพานชื่อว่า อักขระ เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อสังขตธรรม คือสิ่งที่เสื่อม คำว่า อักขระ จัดเป็นชื่อเรียกพระนิพพานอย่างหนึ่งในบรรดาชื่อพระนิพพานทั้งหมด 46 ชื่อ
2. หมายถึงตัวหนังสือ
               ในคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา แสดงความหมายไว้ว่า อกฺขรํ อการาทิ อักษร มี อ อักษรเป็นต้นฯ คัมภีร์อภิธานวรรณนา แสดงความหมายของวัณณะ และอักษร ไว้ดังนี้  อตฺโถ วณฺณียติ ปกาสียติ เอเตนาติ วณฺโณ อักษรสำหรับใช้เขียนบอกเนื้อความชื่อว่า วัณณะ  น ขรนฺตีติ อกฺขโร วัณณะที่ใช้เขียนบอกเนื้อความนั้นเป็นสิ่งไม่สิ้นไป จึงได้ชื่อว่า อักขระ 



ที่มาจาก :  http://www.youtube.com/watch?v=qefhvjuQobI

http://www.cybervanaram.net/index.php?option=com_content&view=article&id=163:2010-06-17-02-56-34&catid=11:2010-06-17-02-44-14&Itemid=23

ลักษณะของภาษาบาลีและสันสกฤต


ลักษณะของภาษาบาลีและสันสกฤต

          ภาษาบาลีและสันสกฤตอยู่ในตระกูลภาษาที่มีวิภัตปัจจัย คือเป็นภาษาที่ที่มีคำเดิมเป็นคำธาตุ เมื่อจะใช้คำใดจะต้องนำธาตุไปประกอบกับปัจจัยและวิภัตติ เพื่อเป็นเครื่องหมายบอกพจน์ ลึงค์ บุรุษ กาล มาลา วาจก โครงสร้างของภาษาประกอบด้วย ระบบเสียง หน่วยคำ และระบบโครงสร้างของประโยค ภาษาบาลีและสันสกฤตมีหน่วยเสียง 2 ประเภท คือ หน่วยเสียงสระและหน่วยเสียงพยัญชนะ ดังนี้
1.   หน่วยเสียงสระ
หน่วยเสียงสระภาษาบาลีมี 8 หน่วยเสียง คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ
หน่วยเสียงภาษาสันสกฤต ตรงกับภาษาบาลี 8 หน่วยเสียง และต่างจากภาษาบาลีอีก 6 หน่วยเสียง เป็น 14 หน่วยเสียง คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ไอ เอา ฤ ฤา ฦ ฦๅ
2.   หน่วยเสียงพยัญชนะ
หน่วยเสียงพยัญชนะภาษาบาลีมี 33 หน่วยเสียง ภาษาสันสกฤตมี 35 หน่วยเสียง เพิ่มหน่วยเสียง ศ ษ ซึ่งหน่วยเสียงพยัญชนะทั้งสิงภาษานี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ พยัญชนะวรรค และพยัญชนะเศษวรรค
วิธีสังเกตคำบาลี

1.   1.      สังเกตจากพยัญชนะตัวสะกดและตัวตาม
ตัวสะกด คือ พยัญชนะที่ประกอบอยู่ข้างท้ายสระประสมกับสระและพยัญชนะต้น
เช่น    ทุกข์  =  ตัวสะกด
       ตัวตาม คือ ตัวที่ตามหลังตัวสะกด เช่น  สัตย  สัจจ  ทุกข  เป็นต้น  คำในภาษาบาลี
จะต้องมีสะกดและตัวตามเสมอ โดยดูจากพยัญชนะบาลี มี 33 ตัว แบ่งออกเป็นวรรคดังนี้





                            
แถวที่
1
2
3
4
5
วรรค กะ
วรรค จะ
วรรค ฏะ
วรรค ตะ
วรรค ปะ
เศษวรรค
 ย  ร  ล  ว  ส  ห  ฬ  อัง

มีหลักสังเกตดังนี้
ก.     พยัญชนะตัวที่ 1 , 3 , 5 เป็นตัวสะกดได้เท่านั้น (ต้องอยู่ในวรรคเดียวกัน)
ข.     ถ้าพยัญชนะตัวที่ 1 สะกด ตัวที่ 1 หรือตัวที่ 2 เป็นตัวตามได้ เช่น สักกะ ทุกข สัจจ
ปัจฉิม  สัตต   หัตถ  บุปผา เป็นต้น
ค.     ถ้าพยัญชนะตัวที่ 3  สะกด ตัวที่ 3 หรือ 4 เป็นตัวตามได้ในวรรคเดียวกัน  เช่น
อัคคี   พยัคฆ์  วิชชา  อัชฌา  พุทธ  คพภ  (ครรภ์)
             ถ้าพยัญชนะตัวที่  5  สะกด  ทุกตัวในวรรคเดียวกันตามได้ เช่น องค์ สังข์ องค์ สงฆ์
สัมปทาน  สัมผัส  สัมพันธ์  สมภาร  เป็นต้น
   พยัญชนะบาลี  ตัวสะกดตัวตามจะอยู่ในวรรคเดียวกันเท่านั้นจะข้ามไปวรรคอื่นไม่ได้
2. สังเกตจากพยัญชนะ ”  จะมีใช้ในภาษาบาลีในไทยเท่านั้น เช่น จุฬา ครุฬ
อาสาฬห์  วิฬาร์  โอฬาร์  พาฬ  เป็นต้น
          3. สังเกตจากตัวตามในภาษาบาลี จะมาเป็นตัวสะกดในภาษาไทยโดยเฉพาะวรรค ฎ และวรรคอื่น ๆ บางตัว จะตัดตัวสะกดออกเหลือแต่ตัวตามเมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย  เช่น
          บาลี              ไทย              บาลี              ไทย
          รัฎฐ              รัฐ                อัฎฐิ             อัฐิ
          ทิฎฐิ             ทิฐิ               วัฑฒนะ         วัฒนะ
          ปุญญ            บุญ               วิชชา            วิชา
          สัตต             สัต               เวชช             เวช
          กิจจ              กิจ               เขตต            เขต
          นิสสิต           นิสิต             นิสสัย           นิสัย
          ยกเว้นคำโบราณที่นำมาใช้แล้วไม่ตัดรูปคำซ้ำออก เช่น ศัพท์ทางศาสนา ได้แก่ วิปัสสนา จิตตวิสุทธิ์   กิจจะลักษณะ  เป็นต้น

วิธีสังเกตคำสันสกฤต มีดังนี้

1.    พยัญชนะสันกฤต มี 35 ตัว คือ พยัญชนะบาลี 33 ตัว  + 2 ตัว  คือ ศษ 
ฉะนั้นจึงสังเกตจากตัว ศษ  มักจะเป็นภาษาสันสกฤต เช่น กษัตริย์ ศึกษา เกษียร พฤกษ์ ศีรษะ เป็นต้น  ยกเว้นคำไทยบางคำที่ใช้เขียนด้วยพยัญชนะทั้ง 2 ตัวนี้ เช่น  ศอก  ศึก  ศอ  เศร้า  ศก ดาษ  กระดาษ  ฝรั่งเศส  ฝีดาษ  ฯลฯ
2. ไม่มีหลักการสะกดแน่นอน  ภาษาสันสกฤต ตัวสะกดตัวตามจะอยู่ข้ามวรรคกันได้
ไม่กำหนดตายตัว เช่น  อัปสร  เกษตร  ปรัชญา  อักษร เป็นต้น
3. สังเกตจากสระ สระในภาษาบาลี มี  8  ตัว  คือ  อะ  อา  อิ  อี  อุ  อู  เอ  โอ  
ส่วนสันสกฤต คือ สระภาษาบาลี  8 ตัว +  เพิ่มอีก 6  ตัว  คือ สระ ฤ  ฤา ภ ภา   ไอ  เอา 
ถ้ามีสระเหล่านี้อยู่และสะกดไม่ตรงตามมาตราจะเป็นภาษาสันสกฤต เช่น ตฤณมัย ไอศวรรย์
เสาร์  ไปรษณีย์  ฤาษี  คฤหาสน์ เป็นต้น
4.สังเกตจากพยัญชนะควบกล้ำ ภาษาสันสกฤตมักจะมีคำควบกล้ำข้างท้าย เช่น
จักร  อัคร  บุตร  สตรี  ศาสตร์  อาทิตย์  จันทร์ เป็นต้น
5.สังเกตจากคำที่มีคำว่า เคราะห์” มักจะเป็นภาษาสันสกฤต เช่น เคราะห์ พิเคราะห์
สังเคราะห์  อนุเคราะห์  เป็นต้น
6. สังเกตจากคำที่มี  ”  อยู่  เช่น จุฑา กรีฑา ครุฑ มณเทียร จัณฑาล เป็นต้น
7 .สังเกตจากคำที่มี  รร”  อยู่ เช่น สรรค์  ธรรม์  วรรณ บรรพต ภรรยา บรรณารักษ์
มรรยาท กรรม ทรรศนะ สรรพ เป็นต้น
ลักษณะการยืมคำภาษาบาลีและสันสกฤต
          ภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นภาษาตระกูลเดียวกัน ลักษณะภาษาและโครงสร้างอย่างเดียวกัน ไทยเรารับภาษาทั้งสองมาใช้ พิจารณาได้ดังนี้
          1.  ถ้าคำภาษาบาลีและสันสกฤตรูปร่างต่างกัน เมื่อออกเสียงเป็นภาษาไทยแล้วได้เสียงเสียงตรงกันเรามักเลือกใช้รูปคำสันสกฤต เพราะภาษาสันสกฤตเข้ามาสู่ภาษาไทยก่อนภาษาบาลี เราจึงคุ้นกว่า เช่น
          บาลี                                สันสกฤต                          ไทย
          กมฺม                                กรฺม                                 กรรม
          จกฺก                                 จกฺร                                 จักร
         



2.  ถ้าเสียงต่างกันเล็กน้อยแต่ออกเสียงสะดวกทั้งสองภาษา มักเลือกใช้รูปภาษาสันสกฤตมากกว่าภาษาบาลี เพราะเราคุ้นกว่าและเสียงไพเราะกว่า เช่น
          บาลี                                สันสกฤต                          ไทย
          ครุฬ                                 ครุฑ                                ครุฑ
          โสตฺถิ                               สฺวสฺติ                               สวัสดี
          3.  คำใดรูปสันสกฤตออกเสียงยาก ภาษาบาลีออกเสียงสะดวกกว่า จะเลือกใช้ภาษาบาลี เช่น
          บาลี                                สันสกฤต                          ไทย
          ขนฺติ                                กฺษานฺติ                                      ขันติ
          ปจฺจย                               ปฺรตฺย                               ปัจจัย
          4.  รูปคำภาษาบาลีสันสกฤตออกเสียงต่างกันเล็กน้อยแต่ออกเสียงสะดวกทั้งคู่บางทีเรานำมาใช้ทั้งสองรูปในความหมายเดียวกัน เช่น
          บาลี                                สันสกฤต                          ไทย
          กณฺหา                              กฺฤษฺณา                                     กัณหา,กฤษณา
          ขตฺติย                               กฺษตฺริย                                      ขัตติยะ,กษัตริย์
          5.  คำภาษาบาลีสันสกฤตที่ออกเสียงสะดวกทั้งคู่ บางทีเรายืมมาใช้ทั้งสองรูป แต่นำมาใช้ในความหมายที่ต่างกัน เช่น
          บาลี                       สันสกฤต                ไทย             ความหมาย
          กิริยา                      กฺริยา                      กิริยา            อาการของคน
                                                                   กริยา            ชนิดของคำ
          โทส                       เทฺวษ                      โทสะ            ความโกรธ
                                                                   เทวษ            ความเศร้าโศก
คำภาษาบาลีและสันสกฤตในวรรณคดีไทย
          คำภาษาบาลีและสันสกฤตปรากฏในวรรณคดีไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนกระทั่งในสมัย ปัจจุบันทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง คือพบตั้งแต่ในศิลาจารึกสมัยพ่อขุนรามคำแหงแม้จะมีไม่มากนักแต่ก็เป็นหลักฐานยืนยันได้ว่า ในสมัยสุโขทัยนั้นไทยได้นำภาษาบาลีและสันสกฤตมาใช้ในภาษาไทยของเราแล้ว และในสมัยต่อมาก็ปรากฏว่านิยมใช้คำภาษาบาลีและสันสกฤตในการแต่งวรรณคดีมากขึ้น
          วิสัณติ์ กฏแก้ว  (2529 : 2) ได้กล่าวถึงเหตุที่ทำให้คำบาลีและสันสกฤตเป็นที่นิยมชมชอบในการนำมาใช้ในทางวรรณคดีพอจะสรุปได้ดังนี้
          1.  วรรณคดีไทยเป็นวรรณกรรมที่ถือเอาเสียงไพเราะเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวรรณคดีประเภทร้อยกรอง นอกจากจะถือเอาความไพเราะของเสียงเป็นสำคัญแล้ว ในการประพันธ์วรรณกรรมประเภทฉันท์ จะต้องถือคำ ครุ ลหุ เป็นสำคัญอีกด้วย คำที่เป็นเสียงลหุในภาษาไทยมีน้อยมาก จึงจำเป็นจะต้องใช้ศัพท์ภาษาบาลีและสันสกฤต เพราะสามารถเลือกคำ ลหุ ครุ ได้มากและสามารถดัดแปลงให้เข้ากับภาษาของเราได้ดี
          ตัวอย่าง
          ข้าขอเทิดทศนัขประณามคุณพระศรี   สรรเพชญพระผู้มี       พระภาค
          อีกธรรมาภิสมัยพระไตรปิฏกวากย์     ทรงคุณคะนึงมาก      ประมาณ
                                                          (สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ 19  อิลราชคำฉันท์)
          2.  คนไทยถือว่าคำบาลีและสันสกฤตเป็นคำสูง เพราะเป็นคำที่ใช้เผยแผ่คำสอนของพระพุทธเจ้า และผู้ที่ใช้คำภาษาบาลีและสันสกฤตส่วนใหญ่อยู่ในฐานะควรแก่การเคารพบูชาทั่วไป เช่น พระสงฆ์ พราหมณ์ เป็นต้น ดังนั้นการแต่งฉันท์ที่ถือกันว่าเป็นของสูง จึงนิยมใช้คำบาลีและสันสกฤต
          3.  วรรณคดีไทยโดยมากมักจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับจักรๆวงศ์ๆ ซึงจะต้องใช้คำราชาศัพท์ การใช้คำภาษาบาลีและสันสกฤตที่เป็นคำราชาศัพท์จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งเช่น พระเนตร พระพักตร์ พระกรรณ เป็นต้น
          4.  การใช้คำภาษาบาลีและสันสกฤตแต่งฉันท์ เป็นเครื่องแสดงภูมิรู้ของผู้แต่งว่ามีความรู้ภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นอย่างดี มีคนเคารพนับถือและยกย่องว่าเป็น ปราชญ์