วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

หน่วยเสียงสระในบาลี


หน่วยเสียงสระในบาลี

ดังได้กล่าวแล้วว่าในระบบเสียงบาลีมีหน่วยเสียงสระทั่วไป 8 หน่วยเสียง และมีหน่วยเสียงสระลักษณะนาสิกอีก 3 หน่วยเสียง
ในประเทศศรีลังกาและประเทศไทยส่วนใหญ่จะออกเสียงนิคคหิตนี้เป็นเสียงนาสิกฐานเพดานอ่อน คือ ṅ [ŋ] ตัวอย่าง 3 คำนี้จะออกเสียงเป็น กิง - กัง - กุง /kiṅ - kaṅ - kuṅ/ [kiŋ - kaŋ - kuŋ]
หน่วยเสียงสระ หมายถึง เสียงที่ทำหน้าที่เป็นแกน (nucleus) ของพยางค์ เป็นเสียงที่มีความสำคัญ คือ แยกความหมายของคำได้ ดังในตัวอย่างคำคู่เทียบเสียง 4 คู่ ต่อไปนี้
ตารางแสดงหน่วยเสียงสระทั่วไป
เสียงสระ
ตัวอย่างคำบาลี
ไทย
โรมัน
สากล
อักษรไทย
อักษรโรมัน
สัทอักษรสากล
1
อิ - อี
i – ī
[i – iː]
อิติ - อีติ
iti – īti
[it̪i – t̪i]
2
อะ - อา
a – ā
[a – aː]
วร16 - วาร
vara – vāra
aɻa – ʋɻa]
3
อุ - อู
u – ū
[u – uː]
กุล - กูล
kula – kūla
[kul̪a – kl̪a]
4
เอ - โอ
e – o
[eː – oː]
เย - โย
ye – yo
[j - j]
คู่ที่ 4 e กับ o เป็นสระเสียงยาว จัดเป็นหน่วยเสียง 2 หน่วยเสียง เพราะสามารถแยกความหมายของคำได้ แต่เนื่องจากเสียงสระยาวกับสระกึ่งยาว [eː - eˑ], [oː - oˑ] 2 คู่นี้ แต่ละคู่เป็นเสียงที่คล้ายคลึงกัน และปรากฏในตำแหน่งที่มีเสียงแวดล้อมสับหลีกกัน (complementary distribution) จึงจัดให้เป็น 2 รูปย่อยของหน่วยเสียงเดียวกัน กล่าวคือ หน่วยเสียง /e/ ประกอบด้วยเสียงที่เป็นรูปย่อยหน่วยเสียง 2 รูป คือ [eː , eˑ] และหน่วยเสียง /o/ ประกอบด้วยเสียงที่เป็นรูปย่อยหน่วยเสียง 2 รูปคือ [oː , oˑ]
หน่วยเสียงสระนาสิก ซึ่งเขียนด้วยอักษรโรมันเป็น ṃ แทน นิคคหิต (˚) (=[ ̃]) ในบาลี โดยจะเขียนไว้ข้างหลังสระ ซึ่งเป็นสระเสียงสั้น 3 เสียง คือ iṃ [ĩ], aṃ [ã] และ uṃ [ũ] จัดเป็น 3 หน่วยเสียง เนื่องจากสามารถแยกความหมายของคำชุดเทียบเสียงซึ่งประกอบด้วยคำ 3 คำในตัวอย่างต่อไปนี้ได้ คือ
กิ - กํ - กุ /kiṃ – kaṃ– kuṃ/ [kĩ – kã – kũ]
การออกเสียงสระ เอ /e/ , โอ /o/ ในบาลี หน่วยเสียงยาว ในที่นี้ได้อธิบายลักษณะพิเศษของหน่วยเสียง สระยาว เอ /e/, โอ /o/ ในบาลีว่าเป็น 2 หน่วยเสียง แต่ละหน่วยเสียงจะมีรูปย่อยหน่วยเสียง 2 รูป คือ เป็นเสียงสระยาว หรืออาจจะเป็นเสียงสระกึ่งยาว (half-long) ก็ได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะพยางค์และเสียงแวดล้อมในพยางค์ ดังนี้
รูปย่อยที่เป็นเสียงสระยาว [eː], [oː] จะเกิดในพยางค์เปิด คือ พยางค์ที่ไม่มีพยัญชนะท้ายหลังสระ ดังในตัวอย่าง เช่น
ตารางแสดง การออกเสียงสระ เอ, โอ ในบาลี
เสียงสระ
ตัวอย่างคำบาลี
ไทย
โรมัน
สากล
อักษรไทย
อักษรโรมัน
สัทอักษรสากล
1
อิ - อี
i – ī
[i – iː]
อิติ - อีติ
iti – īti
[it̪i – t̪i]
2
อะ - อา
a – ā
[a – aː]
วร16 - วาร
vara – vāra
aɻa – ʋɻa]
3
อุ - อู
u – ū
[u – uː]
กุล - กูล
kula – kūla
[kul̪a – kl̪a]
4
เอ - โอ
e – o
[eː – oː]
เย - โย
ye – yo
[j - j]
รูปย่อยที่เป็นเสียงสระกึ่งยาว [eˑ] และ [oˑ] จะเกิดในพยางค์ปิด หมายถึง พยางค์ที่มีพยัญชนะท้ายหลังสระ พยางค์ปิดในพระพุทธพจน์บาลี จะมีลักษณะเฉพาะคือ เป็นพยางค์ที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะซ้อน คือ พยัญชนะซ้อนกัน 2 เสียง โดยเสียงแรกทำหน้าที่เป็นพยัญชนะท้าย (พยัญชนะสะกด) ของพยางค์แรก ส่วนพยัญชนะที่ตามมาจะทำหน้าที่เป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ถัดไป
สระ e o ในบาลี เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะซ้อน จึงมีรูปย่อยที่เป็นเสียงสระกึ่งยาว (half-long) [eˑ], [oˑ]
ตารางแสดง เสียงสระกึ่งยาว
เสียงสระ
ตัวอย่างคำบาลี
สยาม
ไทย
โรมัน
สากล
อักษรสยาม
อักษรไทย
อักษรโรมัน
สัทอักษรสากล
เอ
เอ
e
[]
เมต๎ตา
เมตฺตา
mettā
[mt̪t̪aː]
โอ
โอ
o
[]
โสต๎ถิ
โสตฺถิ
sotthi
[st̪t̪i]
สระ เอ /e/, โอ /o/ เป็นสระเดี่ยว ่ ในที่นี้จะอธิบายว่า สระ เอ /e/, โอ /o/ เป็นสระเดี่ยว ซึ่งเป็นเสียงที่อยู่ในตำแหน่งระหว่างสระ 2 เสียง ซึ่งมีฐานต่างกัน
สระ เอ /e/ เกิดในตำแหน่งระหว่างสระ อะ [a] กับ อิ [i]
สระ โอ /o/ เกิดในตำแหน่งระหว่างสระ อะ [a] กับ อุ [u]
ทั้งนี้พิจารณาตามเสียงที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันเป็นหลักฐานสำคัญ ในที่นี้ถือว่าไม่ใช่สระประสมเพราะหากเป็นสระประสมจะเป็นสระเลื่อนเริ่มด้วยการออกเสียงที่สระหนึ่งและเลื่อนไปจบที่อีกสระหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น