วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

ข้อสังเกตบางประการในการใช้สัทอักษรสากลบาลี

ข้อสังเกตบางประการในการใช้สัทอักษรสากลบาลี

ในการแสดงระบบการออกเสียงพยัญชนะบาลีในพระไตรปิฎกอักษรโรมันฉบับนี้ผู้เขียนได้เลือกใช้สัทอักษรสากล (IPA) ถ่ายถอดเสียงพยัญชนะบาลีเทียบเสียงกับอักษรโรมันไว้เป็นครั้งแรกโดยปรับปรุงจากเดิม เพื่อช่วยในการออกเสียงคำให้ถูกต้องยิ่งขึ้น สิ่งที่จัดทำใหม่เพื่อการนี้มีดังนี้

[แก้]การเลือกใช้สัทอักษรแทนเสียงพยัญชนะระเบิดฐานเพดานแข็ง 4 เสียง

จากการศึกษาข้อมูลเสียงและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญที่ได้ทำการบันทึกเสียงบาลีในพระไตรปิฎก ได้ข้อสรุปการเลือกใช้สัทอักษรแทนเสียงพยัญชนะหยุด แตกต่างออกไปจากที่ได้มีการใช้อยู่ในที่อื่น ๆ ได้แก่ อักษรโรมัน สัททอักษรที่เลือกใช้ c [c] ch [cʰ] j [ɟ] jh [ɟʱ]
การเลือกใช้สัทอักษรสากล [c], [ɟ] มาเทียบเสียงกับหน่วยเสียงพยัญชนะ /c/, /j/ ใน ตารางพยัญชนะบาลีซึ่งเกิดที่เพดานแข็ง ด้วยเห็นว่าตรงตามเกณฑ์ของการใช้สัททอักษรสากลซึ่งเลือกใช้ตัวอักษรธรรมดาให้มากที่สุดในการถอดเสียงและตรงกับหลักเกณฑ์การออกเสียงตามฐานกรณ์ที่เกิดเสียง คือ ฐานเสียงเพดานแข็ง ดังที่กล่าวไว้ในคัมภีร์โบราณแสดงหลักภาษาหรือหลักไวยากรณ์บาลี ชื่อว่า คัมภีร์สัททาวิเสส สัททนีติสุตตมาลาด้วย

[แก้]สัทอักษรสำหรับหน่วยเสียง /r/

การจัดหน่วยเสียง /r/ เป็นหน่วยเสียงพยัญชนะเปิดปลายลิ้นม้วน (Retroflex approximant) ซึ่งออกเสียงโดยม้วนลิ้นไปทางส่วนหลังของปุ่มเหงือก โดยใช้สัทอักษร [ɻ] เทียบเสียงไว้ ตรงกับหลักเกณฑ์การออกเสียงในคัมภีร์สัททาวิเสส สัทนีติสุตตมาลา ไม่ใช่เป็นเสียงพยัญชนะเปิดฐานปุ่มเหงือก (alveolar approximant) ตามที่บางแห่งได้จัดไว้

[แก้]สัทอักษรสำหรับพยัญชนะโฆษะ-ธนิต กับพยัญชนะอโฆษะ-ธนิต

การใช้สัทอักษรสำหรับเสียงพยัญชนะโฆษะ-ธนิต (เสียงก้อง-มีลม) กับพยัญชนะอโฆสะ-ธนิต (เสียงไม่ก้อง-มีลม) มีประเด็นสำคัญคือการเลือกใช้สัญลักษณ์ [ ʰ ] และ [ ʱ ] แทนเสียงธนิต (มีลม) ซึ่งเป็นกลุ่มลมที่ตามหลังเสียงหยุดหรือเสียงระเบิด และแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
  • เสียงหยุดชนิดไม่ก้อง เมื่อออกเสียงนี้ กลุ่มลมที่ตามออกมาจะมีลักษณะไม่ก้องด้วย เช่น เสียง [kʰ], [t̪ʰ] เทียบได้กับเสียง /kh/, /th/ อักษรโรมัน ตามลำดับ
  • เสียงหยุดชนิดก้อง เมื่อออกเสียงนี้ กลุ่มลมที่ตามออกมาจะมีลักษณะก้องด้วย เช่น เสียง [gʱ], [bʱ] เทียบได้กับเสียง /gh/, /bh/ อักษรโรมัน ตามลำดับ

[แก้]เพิ่มสัญลักษณ์ประกอบสัทอักษร

จากข้อมูลเสียงบาลีแสดงเสียงฐานฟันของพยัญชนะเสียงหยุดหรือเสียงระเบิดอย่างชัดเจน ดังนั้น ในชุดสัทอักษรสากลบาลีนี้จึงได้เพิ่มสัญญลักษณ์ [ ̪ ] เช่นเสียง [t̪], [d̪] เทียบได้กับเสียง /t/, /d/ อักษรโรมัน ตามลำดับ หรือของพยัญชนะเสียดแทรก [s̪] เทียบได้กับเสียง /s/ อักษรโรมัน หรือของพยัญชนะเปิดข้างลิ้น [l̪] เทียบได้กับเสียง /l/ อักษรโรมัน
นอกจากนี้ ในการจัดสัททอักษรสากลเพื่อเทียบเสียงนิคคหิต ( ํ ) = /ṃ/ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงสระลักษณะนาสิก ซึ่งเกิดกับสระเสียงสั้น ได้แก่ /aṃ/, /iṃ/, และ /uṃ/ จึงได้ริเริ่มใช้เครื่องหมายเสริมสัททอักษรสากล [~] แสดงว่าเป็นเสียงลักษณะสระนาสิก (nasal vowels) ดังในตัวอย่าง เช่น /aṃ/ [ã], /iṃ/ [ĩ], และ /uṃ/ [ũ]
ตารางแสดง หน่วยเสียงลักษณะสระนาสิก
อักษรสยาม
อักษรไทย
อักษรโรมัน
สัทอักษรสากล
เอตํ
เอตํ
etaṃ
[et̪ã]
นิพ๎พุติ˚
นิพฺพุติ˚
nibbutiṃ
[n̪ibbut̪ĩ]
พาหุ˚
พาหุ˚
bāhuṃ
[baːɦũ]

[แก้]การออกเสียงพิเศษของบาลี : การออกเสียงพยัญชนะอัฒฑสระควบกล้ำของบาลี

การออกเสียงพยัญชนะควบกล้ำของบาลี เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพยัญชนะอัฒสระและพยัญชนะอื่น ๆ บางเสียง เมื่อเป็นส่วนประกอบของเสียงพยัญชนะควบกล้ำ ซึ่งหมายถึงพยัญชนะ 2 เสียงที่เรียงติดต่อกันโดยไม่มีเสียงสระคั่นกลาง ในพระไตรปิฎกบาลีอักษรสยามใช้เครื่องหมาย “ยามักการ คือ ๎ ” (แสดงเสียงคู่หรือเสียงควบ) และในบางกรณ่ทำหน้าที่เป็นตัวสะกดในพยางค์ที่นำหน้าในคำเดียวกันด้วย ซึ่งในฉบับอักษรสยามใช้เครื่องหมาย “ไม้หันอากาศ” (แสดงเสียงสระอะ เมื่อมีตัวสะกด) ในพยางค์ที่นำหน้าในคำเดียวกันเพื่อแสดงการพิมพ์พยัญชนะเสียงควบกล้ำที่ทำหน้าที่เป็นเสียงสะกดพร้อมกันไปด้วย พยัญชนะควบกล้ำบาลีแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ พยัญชนะควบกล้ำที่เป็นพยัญชนะต้นคำและพยัญชนะควบกล้ำที่เกิดกลางคำระหว่างสระ เป็นพยัญชนะสะกดควบกล้ำ
ในการเรียงพิมพ์พระไตรปิฎกอักษรโรมัน ได้ดำเนินตามการสืบทอดเสียงบาลีในฉบับอักษรสยาม โดยได้พิมพ์สัททอักษรสากลบาลีเทียบไว้ด้วยเพื่อช่วยให้ผู้อ่านพระไตรปิฎกบาลีอักษรโรมันได้ออกเสียงถูกต้องชัดเจนยิ่งขึ้น ตัวอย่างที่สำคัญ แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ ดังกล่าวคือ

[แก้]พยัญชนะควบกล้ำที่เป็นพยัญชนะต้นคำ

พยัญชนะควบกล้ำบาลีซึ่งเกิดต้นคำเป็นพยัญชนะต้น อาจประกอบด้วยพยัญชนะอัฒสระหรือพยัญชนะเปิด ได้แก่ ย ร ว ล ฬ [ j ɻ v l̪ ɭ ] โดยพยัญชนะเหล่านี้ จะเกิดร่วมกับพยัญชนะเสียงกัก เช่น ก ต ท ป พ [ k t̪ d p b ] เป็นเสียงพยัญชนะควบกล้ำ ดังในตัวอย่างต่อไปนี้
ตารางแสดง พยัญชนะเสียงควบกล้ำต้นคำ
เสียงควบ
ตัวอย่างคำบาลี
สยาม
ไทย
โรมัน
สากล
อักษรสยาม
อักษรไทย
อักษรโรมัน
สัทอักษรสากล
พ๎ย
พฺย
by
[bj]
พ๎ยัค์ฆ
พฺยคฺฆ
byaggha
[bjaɡɡʱa]
พ๎ร
พฺร
br
[]
พ๎รูติ
พฺรูติ
brūti
[uːt̪i]
ท๎ว
ทฺว
dv
[d̪ʋ]
ท๎วาร
ทฺวาร
dvāra
[d̪ʋaːɻa]
ต๎ว
ตฺว
tv
[t̪ʋ]
ต๎วํ
ตฺวํ
tvaṃ
[t̪ʋ„]
ป๎ล
ปฺล
pl
p l ̪ ]
ป๎ลวติ
ปฺลวติ
plavati
pl ̪ aʋati]
ก๎ล
กฺล
kl
kl ̪ ]
เก๎ลสมเล
เกฺลสมเล
klesamale
kl ̪ eamal̪e]

[แก้]พยัญชนะสะกดควบกล้ำ

พยัญชนะควบกล้ำบาลีที่เกิดกลางคำระหว่างสระจะออกเสียงเป็นพยัญชนะสะกดต่อเนื่องไป เป็นเสียงควบกล้ำ กล่าวคือนอกจากเป็นเสียงพยัญชนะสะกดของพยางค์แรกแล้วยังทำหน้าที่ร่วมเป็นเสียงพยัญชนะต้นควบกล้ำของพยางค์ถัดไปด้วย ซึ่งเรียกว่า “พยัญชนะสะกดควบกล้ำ”
พยัญชนะสะกดควบกล้ำประเภทนี้ อาจประกอบด้วยพยัญชนะอวรรค ทั้ง 7 เสียง ซึ่งรวมพยัญชนะอัฒสระหรือพยัญชนะเปิด คือ ย ร ว ล ฬ [ j ɻ v l̪ ɭ ] และพยัญชนะเสียงเสียดแทรก ส ห [ s̪ ɦ ]
เมื่อพยัญชนะควบกล้ำบาลีเกิดในตำแหน่งระหว่างสระ ส่วนที่เริ่มออกเสียงเป็นพยัญชนะควบกล้ำจะทำหน้าที่เป็นเสียงสะกดท้ายพยางค์แรกด้วย ดังนั้น เสียงนี้จึงทำหน้าที่ 2 อย่าง คือ เป็นเสียงสะกดของพยางค์แรกและต่อเนื่องไปเป็นเสียงเริ่มต้นพยัญชนะควบกล้ำในพยางค์ถัดไป
ตารางแสดง พยัญชนะสะกดควบกล้ำ
เสียงควบ
ตัวอย่างคำบาลี
สยาม
ไทย
โรมัน
สากล
อักษรสยาม
อักษรไทย
อักษรโรมัน
สัทอักษรสากล
ล๎ย
ลฺย
ly
l ̪j]
กัล๎ยา
กลฺยา
ka‿lyā
[kal ̪jaː]
พ๎ร
พฺร
br
[]
อิทมัพ๎รวี
อิทมพฺรวี
idama‿bra
[id̪amaaʋiː]
ป๎ล
ปฺล
pl
pl ̪ ]
อุป๎ลว
อฺปฺลว
u‿plava
[ u pl ̪ aʋa]
ก๎ล
กฺล
kl
kl ̪ ]
จิต์ตัก๎เลเสหิ
จิตฺตเกฺลเสหิ
citta‿klesehi
[ cit̪t̪a kl ̪ eːeːɦi]
ต๎ว
ตฺว
tv
[t̪ʋ]
กัต๎วา
กตฺวา
ka‿tvā
[kat̪ʋaː]
ส๎ม
สฺม
sm
[s̪m]
ตัส๎มา
ตสฺมา
ta‿smā
[t̪as̪maː]
ตัวอย่างในภาพที่ 27 ไม่ใส่เครื่องหมายเชื่อมเสียง [‿] ในช่องสัททอักษรสากล ซึ่งอาจทำให้ผู้ไม่คุ้นเคยกับบาลีไม่ออกเสียงตัวสะกดของพยางค์แรก ดังนั้นเพื่อช่วยให้ผู้อ่านสามารถออกเสียงได้ถูกต้องตามหน้าที่ทั้งสองของเสียงพยัญชนะที่เริ่มเสียงควบกล้ำ คือ เป็นเสียงสะกดข้างหลังอยู่ท้ายพยางค์แรก และต่อเนื่องไปเป็นเสียงที่เริ่มต้นพยัญชนะต้นควบกล้ำในพยางค์ถัดไป ตลอดจนเชื่อมกับเสียงควบกล้ำด้วย โดยการเพิ่มเครื่องหมายเชื่อมเสียง
ตารางแสดง พยัญชนะสะกดควบกล้ำ พร้อมทั้งเสนอเพิ่มเครื่องหมายเชื่อมเสียง
เสียงควบ
ตัวอย่างคำบาลี
สยาม
ไทย
โรมัน
สากล
อักษรสยาม
อักษรไทย
อักษรโรมัน
สัทอักษรสากล
ล๎ย
ลฺย
ly
l ̪j]
กัล๎ย
ลฺย
ka‿lyā
[ka‿l ̪jaː]
พ๎ร
พฺร
br
[]
อิทมัพ๎รวี
อิทมพฺรวี
idama‿bra
[id̪ama‿b'̪'ɻaʋiː]
ป๎ล
ปฺล
pl
pl ̪ ]
อุป๎ล
อฺปฺล
u‿plava
[ u‿pl ̪ aʋa]
ก๎ล
กฺล
kl
kl ̪ ]
จิต์ตัก๎เสหิ
จิตฺตเกฺลเสหิ
citta‿klesehi
[ cit̪t̪a‿kl ̪ eːeːɦi]
ต๎ว
ตฺว
tv
[t̪ʋ]
กัต๎ว
ตฺว
ka‿tvā
[ka‿t̪ʋaː]
ส๎ม
สฺม
sm
[s̪m]
ตัส๎ม
สฺม
ta‿smā
[t̪a‿s̪maː]
นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างอื่น ๆ เช่น เมื่อ ห [ɦ] มาประกอบกับพยัญชนะสะกดควบกล้ำที่เป็นพยัญชนะเปิดดังกล่าวข้างต้น และกับพยัญชนะนาสิก เช่น  ณ ม [ ɲ ɳ m ]
ตารางแสดง ตัวอย่างเมื่อ ห มาประกอบเป็นพยัญชนะสะกดควบกล้ำ
เสียงควบ
ตัวอย่างคำบาลี
สยาม
ไทย
โรมัน
สากล
อักษรสยาม
อักษรไทย
อักษรโรมัน
สัทอักษรสากล
๎ห
ฺห
ñh
[ɲɦ]
ปั๎หา
ปฺหา
pa‿ñhā
[paɲɦaː]
ณ๎ห
ณฺห
'ṇ'h
[ɳɦ]
ตัณ๎หา
ตณฺหา
ta‿'ṇ'hā
[t̪aɳɦaː]
ม๎ห
มฺห
mh
[]
ตุเม๎ห
ตุเมฺห
tu‿mhe
[t̪ueː]
ย๎ห
ยฺห
yh
[]
มุย๎หเต
มุยฺหเต
'mu‿'yhate
[muat̪eː]
ล๎ห
ลฺห
lh
[l ̪ɦ]
วุล๎หเต
วุลฺหเต
vu‿lhate
[ʋul ̪ɦat̪eː]
ว๎ห
วฺห
vh
[ʋɦ]
อว๎หิโต
อวฺหิโต
a‿vhito
[aʋɦit̪oː]
ฬ๎ห
ฬฺห
ḷh
[ɭɦ]
รูฬ๎หิ
รูฬฺหิ
rū‿ḷhi
[ɻuːɭɦi]
ตัวอย่างในภาพที่ 29 ไม่ใส่เครื่องหมายเชื่อมเสียง [‿] ในช่องสัทอักษรสากล ส่วนในภาพที่ 30 ขอเสนอการเพิ่มเครื่องหมายเชื่อมเสียง ซึ่งเริ่มจากเสียงสระซึ่งเป็นเสียงต่อเนื่องกับเสียงส่วนแรกของพยัญชนะควบกล้ำในพยางค์ถัดไป ทำนองเดียวกับในภาพที่ 28 ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ตารางแสดง ตัวอย่างเมื่อ ห มาประกอบเป็นพยัญชนะสะกดควบกล้ำ พร้อมทั้งเสนอเพิ่มเครื่องหมายเชื่อมเสียง
เสียงควบ
ตัวอย่างคำบาลี
สยาม
ไทย
โรมัน
สากล
อักษรสยาม
อักษรไทย
อักษรโรมัน
สัทอักษรสากล
๎ห
 ฺห
ñh
[ɲɦ]
ปั๎ห
ฺห
pa‿ñhā
[pa‿ɲɦaː]
ณ๎ห
ณฺห
'ṇ'h
[ɳɦ]
ตัณ๎ห
ณฺห
ta‿'ṇ'hā
[t̪a‿ɳɦaː]
ม๎ห
มฺห
mh
[]
ตุเม๎ห
ตุเมฺห
tu‿mhe
[t̪u‿eː]
ย๎ห
ยฺห
yh
[]
มุย๎หเต
มุยฺหเต
'mu‿'yhate
[mu‿at̪eː]
ล๎ห
ลฺห
lh
[l ̪ɦ]
วุล๎หเต
วุลฺหเต
vu‿lhate
[ʋu‿at̪eː]
ว๎ห
วฺห
vh
[ʋɦ]
ว๎หิโต
วฺหิโต
a‿vhito
[a‿ʋɦit̪oː]
ฬ๎ห
ฬฺห
ḷh
[ɭɦ]
รูฬ๎ห
รูฬฺห
rū‿ḷhi
[ɻu‿ːɭɦi]

[แก้]การอ่านภาษาบาลี ที่เขียนด้วยอักษรไทย

การใช้อักษรไทยเขียนภาษาบาลีในปัจจุบันจะพบเห็นได้สองแบบ
  1. การเขียนแบบดั้งเดิม พบเห็นได้ในพระไตรปิฎกหรือในที่ที่ต้องการเขียนอย่างเป็นทางการ วิธีการอ่านเหมือนอ่านภาษาไทยปกติแต่มีหลักเพิ่มเติมดังนี้
    • พยัญชนะที่ไม่มีสระ อ่านเสมือนมีสระอะ ประสมอยู่ เช่น เทว อ่านว่า เท-วะ
    • พยัญชนะที่มี พินทุ ข้างใต้ ถือเป็นตัวสะกด หรือเสียงกล้ำ เช่น พฺรหฺม อ่านว่า พระ-ห์มะ (อักษรโรมัน คือ bra-hma), วณฺณ อ่าน วัณ-ณะ, เทฺว อ่าน ทะเว (ออกเสียง ท ไม่เต็มเสียง ให้ควบ ท+ว)
    • พยัญชนะที่มีนิคหิตอยู่ข้างบน ออกเสียงนาสิก หรือเหมือนสะกดด้วย "ง" เช่น อรหํ อ่านว่า อะ-ระ-หัง, กึ (สระอิ + นิคหิต ไม่ใช่สระอึ) อ่านว่า กิง
    • สระเอ ที่สะกดด้วย ย ให้ออกเสียงคล้ายสระไอ ไม่ใช่สระเอย เช่น อาหุเนยฺโย อ่าน อา-หุ-ไน-โย (ไม่ใช่ เนย-โย เพราะภาษาบาลีไม่มีสระเออ, a-hu-ney-yo)
  2. การเขียนแบบง่าย พบเห็นได้ตามหนังสือบทสวดมนต์ทั่วไปที่ต้องการให้ชาวบ้านอ่านได้ง่าย วิธีการอ่านจึงเหมือนอ่านภาษาไทยปกติ
    • มีการเขียนสระอะให้เห็นชัดเจน เช่น เทวะ และไม่มีการใช้พินทุหรือนิคหิต เนื่องจากเขียนตัวสะกดให้เห็นชัดอยู่แล้วเช่น วัณณะอะระหัง
    • ตัวควบกล้ำจะใช้ยามักการบอกการควบกล้ำ เช่น พ๎รห๎มเท๎ว
    • สระเอ ที่สะกดด้วย ย ก็ยังคงให้ออกเสียงในทำนองเดียวกับที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น เพียงแต่จะเขียนต่างกันเล็กน้อย เช่น อาหุเนยโย

[แก้]ไวยากรณ์

ภาษาบาลีเป็นภาษาที่มีวิภัตติปัจจัยตามแบบลักษณะของภาษาในตระกูลอินโด-ยูโรเปียน กล่าวคือการนำคำมาประกอบในประโยคจะต้องมีการผันคำโดยอาจจะเติมเสียงต่อท้ายหรือเปลี่ยนรูปคำบ้าง เช่นในภาษาอังกฤษเรามักจะเห็นการเติม -s สำหรับคำนามพหูพจน์ หรือเติม -ed สำหรับกริยาอดีต แต่ในภาษาบาลีมีสิ่งที่ต้องพิจารณามากกว่าภาษาอังกฤษอีกหลายอย่าง

[แก้]การผันคำนาม (Noun Declension)

ในที่นี้ขอหมายรวมทั้ง นามนาม (Nouns), คุณนาม (Adjectives) และสัพนาม (Pronouns) ซึ่งการนำคำนามเหล่านี้มาประกอบประโยคในภาษาบาลีจะพิจารณาสิ่งต่อไปนี้
  • ลิงก์ (Gender) หรือเพศ ในภาษาบาลีมีสามเพศคือชาย หญิง และไม่มีเพศ บางคำศัพท์เป็นได้เพศเดียว บางศัพท์อาจเป็นได้สองหรือสามเพศ ต้องอาศัยการจดจำเท่านั้น
  • วจนะ (Number) หรือพจน์ ได้แก่ เอกวจนะ และ พหุวจนะ
  • การก (Case) การกคือหน้าที่ของนามในประโยค อันได้แก่
    1. ปฐมา (Nominative) เป็นประธานหรือผู้กระทำ (มักแปลโดยใช้คำว่า อ..(อันว่า)....)
    2. ทุติยา (Accusative) เป็นกรรม (ซึ่ง..., สู่...)
    3. ตติยา (Instrumentive) เป็นเครื่องมือในการกระทำ (ด้วย..., โดย...,อัน....,ตาม.....)
    4. จตุตถี (Dative) เป็นกรรมรอง (แก่..., เพื่อ..., ต่อ...)
    5. ปัญจมี (Ablative) เป็นแหล่งหรือแดนเกิด (แต่..., จาก..., กว่า...)
    6. ฉัฏฐี (Genitive) เป็นเจ้าของ (แห่ง..., ของ...)
    7. สัตตมี (Locative) สถานที่ (ที่..., ใน...)
    8. อาลปนะ (Vocative) อุทาน (ดูก่อน...)
  • สระการันต์ (Termination Vowel) คือสระลงท้ายของคำศัพท์ที่เป็นนาม เพราะสระลงท้ายที่ต่าง ๆ กัน ก็จะต้องเติมวิภัตติที่ต่าง ๆ กันไป
ตัวอย่างเช่น คำว่า สังฆะ คำนี้มีสระ อะ เป็นการันต์และเพศชาย เมื่อนำไปใช้เป็นประธานเอกพจน์จะผันเป็น สังโฆ, ประธานพหูพจน์เป็น สังฆา, กรรมเอกพจน์เป็น สังฆัง, กรรมรองเอกพจน์เป็น สังฆัสสะ ฯลฯ
หรือคำว่า ภิกขุ คำนี้มีสระ อุ เป็นการันต์และเพศชาย เมื่อนำไปใช้เป็นประธานเอกพจน์ก็ผันเป็น ภิกขุ, ประธานพหูพจน์เป็น ภิกขะโว หรือ ภิกขู, กรรมเอกพจน์เป็น ภิกขุง, กรรมรองเอกพจน์เป็น ภิกขุสสะ หรือ ภิกขุโน ฯลฯ

[แก้]การผันคำกริยา (Verb Conjugation)

คำกริยาหรือที่เรียกว่าอาขยาต เกิดจากการนำธาตุของกริยามาลงปัจจัยและใส่วิภัตติ ตามแต่ลักษณะการใช้งานในประโยค
  • การใส่วิภัตติ เพื่อปรับกริยานั้นให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่กำลังนำไปใช้ มีสิ่งที่จะพิจารณาดังนี้
    • กาล (Tense) ดูว่ากริยานั้นเกิดขึ้นในเวลาใด
      1. วัตตมานา (Present - Indicative) กริยาปัจจุบัน ใช้ในประโยคบอกเล่า
      2. ปัญจมี (Present - Imperative) ใช้ในประโยคคำสั่ง หรือขอให้ทำ
      3. สัตตมี (Present - Optative) ใช้บอกว่าควรจะทำ พึงกระทำ
      4. ปโรกขา (Indefinite Past) กริยาอดีตที่ล่วงแล้ว เกินจะรู้ (Tense นี้ไม่ค่อยมีใช้แล้ว)
      5. หิยัตตนี (Definite Past) กริยาอดีต
      6. อัชชัตตนี (Recently Past) กริยาที่ผ่านไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ หรือในวันนี้
      7. ภวิสสันติ (Future) กริยาที่จะกระทำ
      8. กาลาติปัตติ (Conditional) กริยาที่คิดว่าน่าจะทำแต่ก็ไม่ได้ทำ (หากแม้นว่า...)
    • บท (Voice) ดูว่ากริยานั้นเกิดกับใคร
      1. ปรัสสบท (Active) เป็นการกระทำอันส่งผลกับผู้อื่น
      2. อัตตโนบท (Reflective) เป็นการกระทำอันส่งผลกับตัวเอง หรือมีสภาวะเป็นอย่างนั้นอยู่เอง
    • วจนะ (Number) เหมือนคำนามคือแบ่งเป็นเอกวจนะและพหุวจนะ ซึ่งวจนะของกริยาก็ต้องขึ้นกับวจนะของนามผู้กระทำ
    • บุรุษ (Person) บอกบุรุษผู้กระทำกริยา บุรุษในภาษาบาลีนี้จะกลับกับภาษาอังกฤษคือ
      1. บุรุษที่หนึ่ง หมายถึงผู้อื่น (เขา)
      2. บุรุษที่สอง หมายถึงผู้ที่กำลังพูดด้วย (เธอ)
      3. บุรุษที่สาม หมายถึงผู้ที่กำลังพูด (ฉัน)
ตัวอย่างเช่น กริยา วะทะ ที่แปลว่าพูด เป็นกริยาที่ Active ถ้าจะบอกว่า ฉันพูด ก็จะเป็น วะทามิ, เราพูด เป็น วะทามะ, เธอพูด เป็น วะทะสิ, เขาพูด เป็น วะทะติ, ฉันพึงพูด เป็น วะเทยยามิ, ฉันจักพูด เป็น วะทัสสามิฯลฯ
  • การลงปัจจัย สำหรับธาตุของคำกริยา ก่อนที่จะใส่วิภัตตินั้น อันที่จริงต้องพิจารณาก่อนด้วยว่า
กริยาที่นำมาใช้นั้นเป็นลักษณะปกติหรือมีการแสดงอาการอย่างใดเป็นพิเศษดังต่อไปนี้หรือเปล่า

[แก้]อัพพยศัพท์ (Indeclinables)

คือกลุ่มคำที่จะไม่ถูกผันไม่ว่าจะนำไปประกอบประโยคส่วนใดก็ตามได้แก่
  1. อุปสรรค
  2. ปัจจัย
  3. นิบาต



1 ความคิดเห็น:

  1. ข้อมูลดีมากค่ะ โดยเฉพาะ พยัญชนะควบกล้ำต่างๆ กำลังต้องการเพื่อนำไปทำหนังสือมวดมนต์ให้อ่านออกเสียงกันให้ถูกต้องค่ะ สาธุขออนุโมทนา

    ตอบลบ