ข้อเเตกต่างระหว่างภาษาบาลีเเละสันสฤต
บาลี
๑. สระบาลี มี ๘ ตัว คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ
๒. พยัญชนะ บาลี มี ๓๒ ตัว
๓. บาลีนิยม ฬ เช่น จุฬา กีฬา อาสาฬห วิฬาร์
๔. ไม่นิยมคำควบกล้ำและอักษรนำ เช่น ปฐม มัจฉา
วิชชา สามี
๕. มีหลักเกณฑ์การใช้ตัวสะกดตัวตามแน่นอน
๖. ใช้ริ กลางคำ เช่น อริยะ จริยา อัจฉริยะ
๗. บาลีใช้ อะ อิ อุ เช่น อมตะ ติณ ปุจฉา อุตุ
๘. บาลีใช้ ส ทั้งหมด เช่น สงฆ์ สามัญ ปัสสาวะ
อัสสุ มัสสุ สิกขา สัจจะ
แตกต่างจากภาษาสันสกฤต เพราะสันสกฤต มี
๑. สระสันสกฤตมี ๑๔ ตัว เพิ่ม ไอ เอา ฤ ฤา ฦ ฦา
๒. พยัญชนะสันสกฤตมี ๓๔ ตัว เพิ่ม ศ ษ
๓. สันสกฤตใช้ ฑ ฒ เช่น จุฑา กรีฑา
๔. นิยมควบกล้ำ และอักษรนำ เช่น ประถม มัตสยา
วิทยา สวามี
๕. มีหลักตัวสะกดตัวตามไม่แน่นอน
๖. ใช้ ร กลางคำ เช่น อาจารย จรรยา อารยะ
๗. สันสกฤต ใช้ ฤ เช่น อมฤต ตฤณ ปฤจฉา ฤดู
๘. ใช้ ส จะมีพยัญชนะวรรค ต (ต ถ ท ธ น) เป็น
ตัวตาม เช่น สตรี สถานี พัสดุ สถิติ พิสดาร
อ้างอิง : www.kr.ac.th/ebook/songsri/b6.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น